ดร. เจเรมี่ แครูว์ รี๊ด และทีมนักวิจัย ระบุว่า ในอนาคตอันใกล้ เมืองไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากโลกร้อนมากขึ้น เราจะต้องอยู่กับสภาพอากาศร้อนขึ้น ฝนตกมากขึ้น และฤดูแล้งที่ยาวนานมากขึ้น ความร้อน และความชื้นสะสม คือตัวการทำให้เส้นใยของเนื้อฉนวนเซลล์ปิดแบบเดิมๆ เสื่อมสภาพลง
เรายังเลือกใช้ฉนวนที่เป็นเซลล์เปิด?
จำเป็นด้วยหรือที่ฉนวนต้องหนา?
* Jeremy Carew-Reid - PhD in Environmental ImpactAssessment ปัจจุบันเป็น Director of ICEM (InternationalCentre for Environmental Management)จากกราฟจะเห็นได้ว่า ฉนวนเซลล์เปิดทั่วไปอย่างใยแก้ว เมื่อมีความชื้นสะสมมากกว่า 12% การนำความร้อนของฉนวนจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนลดลงไปมากกว่าครึ่ง ในขณะที่ Miron ซึ่งเป็นฉนวนเซลล์ปิด 100%ไม่สะสมความชื้น ทำให้ฉนวน Miron จะคงประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนคงที่อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เป็นการถ่ายเทความร้อนภายในวัตถุ ซึ่งโดยส่วนมาก มักอยู่ในรูปของแข็ง จากอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอม ความร้อนจะเดินทางจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงไปบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ วัตถุแต่ละชนิดจะนำความร้อนได้ต่างกัน โลหะจะนำความร้อนได้ดีสุด
เป็นการถ่ายเทความร้อนที่อาศัยการเคลื่อนที่ของตัวกลาง โดยส่วนมาก มักอยู่ในรูปแบบของก๊าซ หรือของเหลว โดยเมื่อได้รับความร้อน ตัวกลางจะมีอุณหภูมิสูง และเคลื่อนที่พาเอาความร้อนไปด้วย เช่น เมื่อนำ กาต้มน้ำไปวางบนเตา ความร้อนจากไฟทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น และน้ำที่มี อุณหภูมิสูงขึ้น จะเคลื่อนที่พาเอาความร้อนจากน้ำด้านล่าง ขึ้นมายังบริเวณผิวน้ำด้านบน
เป็นการถ่ายเทความร้อนโดยไม่อาศัยตัวกลาง ในรูปแบบคลื่นรังสีความร้อน และเมื่อรังสีความร้อน ไปกระทบวัตถุ วัตถุก็จะดูดกลืนความร้อน เช่น พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ เดินทางผ่านสูญญากาศมายังโลก
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า